messager
 
เทศบาลตำบลทุ่งหว้า call ข้อมูลการติดต่อ

เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
Thung Wa Subdistrict Municipality


ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
check_circle ประวัติความเป็นมา
สัญลักษณ์หน่วยงาน


ประวัติก่อตั้ง
เทศบาลตำบลทุ่งหว้าเดิมมีฐานะเป็น “สุขาภิบาล” โดยได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาล 1 ครั้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 และตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 71 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นจาก “สุขาภิบาลทุ่งหว้า” เป็น “เทศบาลตำบลทุ่งหว้า” โดยมี ประกาศปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542

check_circle สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไป

ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัด สตูล พื้นที่ เขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้ามีพื้นที่ทั้งหมด 2.94 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ - หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย ตำบลทุ่งหว้า - หมู่ที่ 2 บ้านท่าเรือ ตำบลทุ่งหว้า - หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า - หมู่ที่ 4 (บางส่วน) บ้านทุ่งปรือ ตำบลทุ่งหว้า - หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ ตำบลทุ่งหว้า ทิศเหนือ ติดต่อกับ คลองท่าอ้อย , อำเภอปะเหลียน ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.นาทอน, เขาแดง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองลิเลียบ , อบต.ทุ่งหว้า ทิศตะวันตก ติดต่อกับ คลองทุ่งหว้า , คลองท่าข้ามควาย

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าเขา มีที่ราบระหว่างภูเขาและที่ราบชายทะเล พื้นที่สูงๆ ต่ำ ๆ เหมาะแก่การทำสวน ทำไร่ และพื้นที่บางส่วนทางทิศเหนือเป็นป่าชายเลน มีไม้แสมและโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และมีทางน้ำธรรมชาติสำคัญ ได้แก่ คลองท่าอ้อยอยู่ทางทิศเหนือของชุมชนและคลองทุ่งหว้าอยู่ทางทิศตะวันตกของชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะอากาศ เป็นมรสุมเขตร้อน ซึ่งพอจะแบ่งลักษณะอากาศออกเป็น 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน โดยได้รับอิทธิพล จากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศทั่วไปจะร้อน เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก เป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือน ปัจจุบันฝนตกไม่ถูกต้อง ตามฤดูกาล มีปริมาณน้ำฝนน้อยและไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว

จำนวนประชากรและชุมชน
ที่ ชุมชน จำนวน ครัวเรือน จำนวนประชากร รวม ชาย หญิง 1 ท่าอ้อย-ในบ้าน 269 545 514 1,059 2 ท่าเรือ 256 324 333 657 3 สุไหง-อุเป 82 128 206 334 4 ทุ่งปรือ 169 233 224 457 5 บ้านโพธิ์ 164 233 215 448 6 ตลาด 378 304 302 606 7 ทะเบียนบ้านกลาง 4 6 10 16 รวม 1,322 1,773 1,804 3,577 ที่มา สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ณ วันที่ 31 มกราคม 2564

ด้านเศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ การทำสวนยางพารา การทำนา การทำประมง และการเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้แก่ ยางพารา ผลผลิตยางพาราโดยเฉลี่ยประมาณ 220 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับอาชีพประมง นอกจากการทำประมงในทะเลแล้ว ยังมีการทำประมงบริเวณชายฝั่งทะเล เช่นเลี้ยงปลาในกระชัง เลี้ยงหอยในกระชัง และการทำนากุ้ง ซึ่งมีผลผลิตที่ต่อเนื่องจากการประมง เช่น กะปิ,กุ้งแห้ง,ปลาเค็ม สำหรับการทำนาจะเป็นแบบข้าวนาปี โดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน การเลี้ยงสัตว์ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และแพะ เป็นการเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค ส่วนที่เหลือจากการบริโภคก็จะจำหน่าย รายได้เฉลี่ย 34,200 บาท ต่อคนต่อปี พาณิชยกรรม การค้าและบริการที่มีในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จะเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นแบบธุรกิจในครัวเรือน ลักษณะกิจการเป็นการจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค การพาณิชยกรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ประกอบด้วย - ตลาดสดเทศบาล (แผงจำหน่าย 30 แผง) 1 แห่ง - ร้านสะดวกซื้อ(จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค) 52 แห่ง - ร้านเครื่องดื่มและอาหาร 12 แห่ง - ร้านเสื้อผ้า 3 แห่ง - ร้านบริการเสริมสวย 9 แห่ง - ร้านอุปกรณ์ วิทยุ ไฟฟ้า 3 แห่ง - ร้านจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร 1 แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง - ร้านจำหน่ายเครื่องเขียน แบบพิมพ์ 4 แห่ง - ร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและบัตรเติมเงิน 4 แห่ง - ร้านตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2 แห่ง - ปั้มน้ำมัน (ชนิดหลอดแก้ว) 3 แห่ง - โรงแรม 1 แห่ง - ร้านวิดีโอ และคาราโอเกะ 4 แห่ง - ธนาคาร 2 แห่ง รายได้เฉลี่ย 39,600 บาทต่อคนต่อปี

สภาพทางสังคม
การศึกษา ประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับภาคบังคับประมาณ 65 % การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา 30 % และระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประมาณ 5% ภายในเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า มีโรงเรียน ได้แก่ - โรงเรียนอนุบาลทุ่งหว้า - โรงเรียนวัดชมพูนิมิต - โรงเรียนอนุบาลอมรรัตน์ - โรงเรียนสุไหงอุเปวิทยา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งหว้า - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์ ระบบการศึกษานอกโรงเรียนมีสถานที่ให้ความรู้ดังนี้ - ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน(ศบอ.ทุ่งหว้า) - ห้องสมุดประชาชน - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด 1 แห่ง - มัสยิด 1 แห่ง - ศาลเจ้า 1 แห่ง - สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ 1 แห่ง - สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม(บานาซะ) 6 แห่ง - ฌาปนสถานของศาสนาพุทธ 1 แห่ง - สุสาน(กุโบร์)ของศาสนาอิสลาม 1 แห่ง การสาธารณสุข - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) 6 แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 % การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการอบรมสมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) และจัดเพิ่มและ ปรับปรุงระบบไฟส่องสว่างตามเส้นทางสัญจรในสายต่าง ๆ ภายในเขตเทศบาล งานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของเทศบาลตำบลทุ่งหว้ายังมีความพร้อมไม่มากนัก ทั้งอุปกรณ์ อุปกรณ์ และ บุคลากร เกี่ยวกับ และบุคลากร ด้วยจำกัดในงบประมาณและการอบรมไม่ต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีครุภัณฑ์ วัสดุการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนี้ 1) สถานีตำรวจ จำนวน 1 แห่ง 2) รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน 3) รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน 4) สถานีดับเพลิง จำนวน 1 แห่ง 5) พนักงานดับเพลิง จำนวน 3 คน 6) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จำนวน 250 คน 7) การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 1 ครั้ง/ปี 8) จัดให้มีระบบไฟส่องสว่างตามเส้นทางสัญจรสายต่าง ๆ ในเขตเทศบาลทุกสาย

การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม การคมนาคมระหว่างเทศบาลตำบลทุ่งหว้ากับเมืองสตูล ใช้เส้นทางสายตรัง- ฉลุง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416) จากเขตเทศบาลฯ ผ่านอำเภอละงู อำเภอท่าแพ เทศบาลตำบล ฉลุง และใช้เส้นทางสายยนตรการกำธร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 466) จากเทศบาลตำบลฉลุง ถึงเมืองสตูล ระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 75 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางเป็นถนนลาดยางสภาพดี - การคมนาคมระหว่างพื้นที่ใกล้เคียง 1) การคมนาคมระหว่างเทศบาลตำบลทุ่งหว้า กับอำเภอละงูใช้เส้นทางสาย ตรัง – ฉลุง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416)ระยะทางประมาณ 26 กม. 2) การคมนาคมระหว่างเทศบาลตำบลทุ่งหว้ากับจังหวัดตรัง ใช้เส้นทางสาย ตรัง – ฉลุง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416) เช่นกัน ระยะทางประมาณ 74 กม. - การคมนาคมระหว่างเทศบาลตำบลทุ่งหว้าและตำบลอื่น ๆ ภายในอำเภอทุ่งหว้า ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 416 เป็นถนนสายหลัก นอกจากนี้มี ทางหลวง ชนบท เชื่อมเส้นทางการคมนาคม เช่น ตำบลนาทอนมีทางหลวงชนบทสาย วังตง– บารายี – บ้านนาทอน ตำบลป่าแก่บ่อหินมี ทางหลวงชนบทสายสะพานวา – บ้านทุ่งนางแก้ว ตำบลขอนคลานมี ทางหลวงชนบทสายท่าศิลา – ตันหยงลาไน้ และ ตำบลทุ่งบุหลังมีทางหลวงชนบทสายบารายี – บ้านทุ่งสะโบ๊ะ สภาพถนน เป็นถนนลาดยาง ผิวการจราจรบางช่วงชำรุด การสื่อสารและโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง - ชุมสายโทรศัพท์ 1 แห่ง การไฟฟ้าและประปา ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค - จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มี - จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปาใช้ 600 ครัวเรือน

ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยว - จุดชมวิวท่าอ้อย , จุดชมวิวท่าเรือทุ่งหว้า แหล่งน้ำ 1) สระน้ำจำนวน 2 แห่งได้แก่ - สระเก็บน้ำบ้านโพธิ์ คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ ประมาณ 80,000 ลบ.ม. - สระเก็บน้ำ คสล. ในบ้าน คิดเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ ประมาณ 5,000 ลบ.ม. 2) ลำห้วย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ - ห้วย บ๋อง บ๋อง ขยะ - สภาพการได้มาของที่ดินที่ใช้ในการกำจัดขยะ (1) ได้รับบริจาค เมื่อ 11 ต.ค. 2534 เนื้อที่ 3ไร่ 58 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ม.8 ต.ทุ่งหว้า ปัจจุบันไม่ใช้กำจัดขยะแล้ว (2) ซื้อ เมื่อ 27 พ.ค. 2536 เนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 68 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ม.8 ต.ทุ่งหว้า ห่างจากเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้าเป็นระยะทาง 4 กม. (3) ที่ดินที่ใช้กำจัดขยะไปแล้ว จำนวน 2 ไร่ (4) ที่ดินสำหรับกำจัดขยะปัจจุบัน(บ่อขยะ) ที่สามารถใช้งานได้ จำนวน 3 ไร่ (5) ปริมาณขยะ ประมาณ 1 ตัน/วัน (6) รถยนต์ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะ จำนวน 2 คัน - ขนาดความจุ 6 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2536 - ขนาดความจุ 10 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2545 (7) ปริมาณขยะที่เก็บขนได้ จำนวน 60 ลบ.ม./วัน (8) ปริมาณขยะที่กำจัดได้ จำนวน 60 ลบ.ม./วัน - กำจัดด้วยวิธีฝังกลบ (9) ที่ดินคงเหลือที่จะใช้กำจัดขยะอีก จำนวนประมาณ 1 ไร่ ระยะเวลาที่สามารถใช้กำจัดขยะได้อีก ประมาณ 20 ปี

ด้านการเมืองการบริหาร
ด้านการเมืองการบริหาร เทศบาลตำบลทุ่งหว้า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล และจากแผนภูมิแสดงโครงสร้างการบริหาร จะเห็นว่าเทศบาล ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นมาตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2546 จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาล โดยมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 ประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล 1.2 รองประธานสภาเทศบาล มีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาเทศบาล เมื่อประธานสภาเทศบาลไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 1.3 สมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาล ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ 2. นายกเทศมนตรี คือ ผู้บริหารท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาล ตามกฎหมายว่าด้วยเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2546 มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย และตามมติของสภาเทศบาล โดยมี รองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ช่วย ซึ่งนายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ 2 คน นอกจากมีรองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ช่วยแล้ว นายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี เป็นผู้ช่วย ในการทำหน้าที่บริหารงานของเทศบาลได้อีกด้วย 3.พนักงานเทศบาล คือ ผู้บริหารตามส่วนต่าง ๆ ตามปริมาณงานและคุณภาพงาน โดยมี ปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการทั่วไป จากแผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนการบริหารราชการของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ได้แบ่งส่วนการบริหารราชการออกเป็น 5 กอง คือ (1) สำนักปลัดเทศบาล (2) กองช่าง (3) กองคลัง (4) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (5) กองการศึกษา 4. พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป และลูกจ้างประจำ คือ ผู้ปฏิบัติงานตามภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบตามส่วนต่าง ๆ ของการแบ่งส่วนการบริหารราชการของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตเทศบาล และสอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เทศบาลตำบลทุ่งหว้า จำนวนทั้งหมด 45 คน ตำแหน่งในสำนักปลัดเทศบาล จำนวน 13 คน ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน 4 คน ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน 7 คน ตำแหน่งในกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 17 คน ตำแหน่งในกองการศึกษา จำนวน 4 คน

แผนที่แม่บทเทศบาลตำบลทุ่งหว้า

info_outline วิสัยทัศน์/พันธกิจ
วิสัยทัศน์ ( Vision )
“น่าอยู่ สามัคคี มีส่วนร่วม”

พันธกิจ
1. ปรับปรุง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างทั่วถึง เพียงพอ และได้มาตรฐาน 2. ส่งเสริมและยกระดับการศึกษาของประชาชน 3. ส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. ส่งเสริมการกีฬา และนันทนาการ 5. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง 6. จัดให้มีการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาความสงบเรียบร้อยและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7. ส่งเสริมด้านสุขภาพ พลานามัย และการสาธารณสุข 8. ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. เพื่อให้ประชาชนมีการคมนาคม สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง 2. เพื่อให้ประชาชนมีการศึกษาภาคบังคับและมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น 3. เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง 5. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพ แข็งแรง สมบูรณ์ 6. เพื่อให้สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ 7. บุคลากรในองค์กรมีประสิทธิภาพในการบริการประชาชน

image แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมวิวบ้านท่าอ้อย (16 ภาพ)[29 มีนาคม 2565]
น้ำตกธารปลิว อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล (4 ภาพ)[16 สิงหาคม 2554]
จุดชมวิวท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย (12 ภาพ)[17 มิถุนายน 2552]
 
image สินค้าชุมชน OTOP
ขนมผูกรักท่าอ้อย (1 ภาพ)[24 มิถุนายน 2563]
ขนมพริกไทยดำสุไหงอุเป (1 ภาพ)[24 มิถุนายน 2563]
พริกไทยพื้นเมืองสุไหงอุเป (1 ภาพ)[24 มิถุนายน 2563]
ไม้กวาดดอกหญ้า (1 ภาพ)[29 มิถุนายน 2552]
 
camera_alt ภาพกิจกรรม
กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย [27 กันยายน 2567]
โครงการมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชำระภาษีดีเด่น ประจำปี 2567[26 กันยายน 2567]
โครงการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริต ของเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ ภูต้นน้ำล่องแก่งสตูล อำเภอละงู จังหวัดสตูล[9 กันยายน 2567]
พิธีปิดประตูยมโลก ประเพณีไหว้ผีหมู่ (ผีโบ๊ว/ผีโบ๋) ประจำปี 2567[3 กันยายน 2567]
 

× เทศบาลตำบลทุ่งหว้า